การเตรียมตัวสำหรับส่งรูปขายออนไลน์ Part 1


การเตรียมความพร้อมสำหรับจะขายรูปออนไลน์ผ่านไมโครสต็อก (Microstock
photography) แน่นอนครับท่านที่สนใจจะเริ่มการขายรูปออนไลน์ ต้องมีความสนใจในการถ่ายภาพในระดับหนึ่ง แต่ไม่ต้องถึงกับเป็นมืออาชีพ(ผมเองก็มือสมัครเล่นครับ) แต่ถ้ามีมืออาชีพท่านใดสนใจ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ ^^


มีช่างภาพหลายท่านยังคงลังเลว่ามีความพร้อมสำหรับการนำผลงานออกขายออนไลน์ ได้หรือยัง? ผมเลยขอเพิ่มความมั่นใจให้ท่านทั้งหลาย ด้วยการรวบรวมสิ่งที่มีความจำขั้นต้น ในการส่งภาพขายตามประสบการณ์ของผมเอง แน่นอนว่าในช่วงแรกก่อนส่งรูปขายผมก็มีความลังเลอยู่เหมือนกันครับ

1) ทำหนังสือเดินทาง
สิ่งแรกที่ต้องเตรียมไว้ก่อนเลยครับ ทำหนังสือเดินทางหรือ Passport รอไว้ก่อนเลยครับ เพราะต้องใช้สำหรับยืนยันตัวตนกับทางตัวแทนขายภาพ (Micro stock agencies) เดี๋ยวนี้ราชการเค้าทำรวดเร็วทันใจครับ แล้วรอรับอีกประมาณ 3-7 วัน มีค่าใช้จ่ายในการทำพันกว่าบาทครับ








Photo credit: wikipedia.org

2) สมัคร PayPal
ถัดมาก็ต้องเปิดบัญชีธนาคารออนไล์กับ PayPal เพื่อเป็นแหล่งพักเงินแบบถูกกฎหมาย 555+ ก่อนที่จะโอนเป็นเงินเข้าธนาคารในไทยอีกที ขั้นตอนการเปิดบัญชีกับ PayPal อาจจะมีหลายขั้นตอนซักหน่อยแต่ก็ไม่เกินไปครับ








Photo credit: paypal.com

3) เตรียมอุปกรณ์ถ่ายภาพ
เมื่อเตรียมสองอย่างแรกพร้อมแล้ว ขั้นถัดมาเป็นการเตรียมอุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพ สำหรับท่านใดที่มีอุปกรณ์พร้อมแล้วก็อ่านเล่นๆขำๆไปก่อนละกันครับ สำหรับผมแล้วอุปกรณ์ที่สำคัญ 2 อย่างที่ขาดไม่ได้เลยในวงการขายภาพคือ กล้องดิจิตอล+เลนส์ และขาตั้งกล้องเป็นเบื้องต้นน่ะครับ ท่านใดจะมีอุปกรณ์เสริมมากกว่านี้ก็ยิ่งดีครับ

3.1) กล้องดิจิตอล (Digital SLR Camera) ผมเน้นไปที่กล้อง DSLR น่ะครับ เพราะกล้องเล็กกว่านี้ เช่นกล้องคอมแพค (Compact Camera) จะมีคุณภาพไฟล์ไม่ละเอียดพอที่จะส่งขายครับ ซึ่งกล้องคอมแพคถ้ามองในแง่ขนาดภาพที่ถ่ายได้จะดูใหญ่โตแต่ก็คุณภาพก็ยังสู้ กล้อง DSLR ที่มีขนาดภาพที่เล็กกว่ายังไม่ได้

กล้องทางค่าย Canon ที่เป็น DSLR รุ่นเล็กสุดในปัจจุบัน Canon EOS 1000D ก็สามารถนำมาถ่ายภาพแนวสต็อกได้แล้วครับ เท่าที่ผมได้ทดลองแล้วคุณภาพไฟล์ค่อนข้างดีครับ และผมก็มีรูปที่วางขายออนไลน์โดยใช้กล้อง EOS 1000D อยู่ด้วยครับ :)

ส่วนกล้องค่าย Canon ที่เก่าสุดที่ผมได้ถ่ายแล้วนำรูปไปขายก็เป็น Canon EOS 300D จะมีขนาดความละเอียดสูงสุด 6.3 ล้านพิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดขั้นต่ำในการรับรูปของไมโครสต็อกหลายแห่ง (แต่บางแห่งขั้นต่ำสุด 4 ล้านพิกเซลก็มีครับ)















































CameraMax resolutionEffective pixels
Canon EOS 300D3072 x 20486.3 megapixels
Canon EOS 30D3504 x 23368.2 megapixels
Canon EOS 1000D3888 x 259210.1 megapixels
Nikon D603872 x 259210.2 megapixels
Nikon D30003872 x 259210.2 megapixels
Canon EOS 1100D4272 x 284812.2 megapixels
Nikon D50004288 x 284812.3 megapixels
Nikon D31004608 x 307214.2 megapixels

จะเห็นว่าในการพิจารณาเลือกกล้องมาใช้สำหรับงานถ่ายภาพส่งขายที่ไมโครสต็อก จะเน้นไปที่ขนาดความละเอียดไฟล์ภาพเป็นสำคัญ ส่วนฟีเจอร์อื่นๆของกล้องจะไม่ใช่ประเด็นหลักเท่าไหร่ครับ








ตัวอย่างรูปถ่ายจาก Compact Camera (Canon PowerShort S90)

จากรูปตัวอย่างผมถ่ายจากกล้อง Canon PowerShot S90 ถ่ายด้วย RAW ตั้งความละเอียด 3648 x 2736, ISO-100, f/7.1, 1/500 sec. แล้ว resize ภาพให้เล็กลงเพื่อจะได้ลด noise ให้มากขึ้น เป็นความละเอียด 2900 x 2175 แล้วลอง Zoom 100% ดูจุดที่มืดๆ หน่อยก็จะเห็น noise ก็ยังมากพอควร ซึ่งภาพนี้ถ้าส่งขายก็จะโดน reject เพราะ noise เยอะเกินไปนั่นเอง

3.2) เลนส์ (Lens) สำหรับเลนส์ที่จะใช้ในการถ่าย ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ Kit ที่มากลับตัวกล้อง เช่น Canon EF 18-55mm ไปจนถึงเลนส์ระดับโปร ก็สามารถใช้ถ่ายได้หมดครับ ไม่มีประเด็นอะไรมากมาย

3.3) ขาตั้งกล้อง (Tripod) สำหรับผมแล้วขาตั้งกล้องเป็นสิ่งจำเป็นขึ้นมาทันทีครับ เพราะภาพที่จะส่งขายจะต้องเป็นภาพที่คมชัด เน้นตรง "คมชัด" มากๆ ดังนี้ถ้าสถานที่ ไหนมีแสงน้อยแล้วละก็ อย่าลังเลที่จะใช้ตัวช่วยอย่างขาตั้งกล้องเลยน่ะครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นขาตั้งที่ราคาแพงๆหรอก เอาแค่สามารถตั้งกล้องได้ก็พอแล้วครับ

4). เทคนิคการถ่ายภาพ
เมื่ออุปกรณ์พร้อมแล้ว เราก็มาสร้างสรรค์ภาพถ่ายแนวสต็อกกันเลยดีกว่า ภาพแนวสต็อกก็ไม่ได้แตกต่างจากการถ่ายภาพทั่วๆไปเท่าไหร่ครับ เวลาผมออกทริปไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อนๆ เราก็ถ่ายโน้นนี่ไปเรื่อย ทั้งภาพหมู่ ภาพวิว ภาพแคนดิดเพื่อนๆ ภาพอาหาร ก่อนกิน อะไรทำนองนี้อยู่เป็นประจำ พอเริ่มรู้จักไมโครสต็อก ผมก็เริ่มไปค้นรูปเก่าๆ ที่เคยถ่ายไว้ตอนไปเที่ยวโน้นเที่ยวนี่ ภาพส่วนใหญ่ 95% นำมาขายไม่ได้เลยครับ 555+ เหตุผลอย่างแรกที่ไม่สามารถนำมาขายได้คือ ส่วนใหญ่เป็นภาพแนวที่ไมโครสต็อกเรียก กันว่าภาพ "สแนปช็อต" หรือ Snapshot ซึ่งมีคนให้คำนิยามไว้ว่า "การถ่ายภาพอย่างรวดเร็ว"

ภาพ Snapshot อธิบายง่ายๆ ประมาณว่าเป็นแนวภาพที่เราไม่ได้ตั้งใจถ่ายอะไรมากมาย ถ่ายขำๆ สนุกๆ ไม่คิดอะไรมาก แต่การถ่ายแบบ Snapshot ที่ว่าไม่เหมาะกับขายที่ไมโครสต็อกนี้ผมก็สามารถเลือกออกมาส่งขายได้อยู่ เหมือนกัน ซึ่งรูปที่ขายเป็นอันดับหนึ่งที่ Shutterstock ผมก็ถ่ายขำๆไม่ได้เน้นอะไรเลย แต่บังเอิญว่าขายได้ครับ ^^

ดังนั้นภาพแนว Snapshot ถ้าเลือกดีๆก็ขายได้อยู่เหมือนกันครับ แล้วถ้าท่านใดมีโอกาสได้ไปเที่ยวถ่ายภาพอีก ก็ต้องมีภาพแนวสต็อกบ้างแล้วหล่ะ ส่วนภาพแนวสแนปช็อตก็ยังถ่ายได้น่ะ เพราะเพื่อนร่วมทริปยังต้องการตากล้องที่เก็บภาพบรรยากาศในการเที่ยวอยู่ดี :)

ในส่วนตัวผม ภาพแนวสต็อก ผมให้นิยามไว้ว่า "ถ่ายเน้นๆ" หรือตั้งใจถ่ายให้มากกว่าเดิม นั่นคือให้เวลากับภาพที่จะถ่ายมากขึ้น คิดก่อนถ่ายว่าจะให้ภาพมีความหมายออกมาแนวไหน เพราะภาพสต็อค ต้องการภาพที่สื่อความหมายชัดเจน เช่น ภาพธรรมชาติที่ดูสดชื่น เราก็ต้องถ่ายออกมายังไงให้มันดูสดชื่น (นี่ซิโจทย์ที่ยากมาก 555+)

แต่ก่อนไปคิดภาพที่ดูสื่อความหมาย เราก็มาโฟกัสในส่วนกฎเกณฑ์เบื่องต้นของภาพที่จะถ่ายเพื่อส่งขายออนไลน์ได้ จะต้องตรวจสอบว่าเข้าตามกฎเบื้องต้นเหล่านี้หรือไม่

4.1) ต้องไม่ใช้ภาพแนว Snapshot
4.2) ต้องเป็นภาพที่คมชัด
4.3) ต้องเป็นภาพที่วัดแสงพอดี
4.4) ต้องเป็นภาพที่ไม่มี Noise
4.5) ต้องเป็นภาพที่สีไม่เพี้ยน
4.6) ต้องเป็นภาพที่มีองค์ประกอบที่ดี
4.7) ต้องเป็นภาพที่ไม่มีโลโก้สินค้าใดๆอยู่ในภาพ
4.8) ต้องเป็นภาพที่ไม่แต่งภาพจนโอเวอร์
4.9) ถ้ามีรูปคนอยู่ในภาพต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมจากคนนั้น
4.10) ถ้ามีรูปสิ่งก่อสร้างอยู่ในภาพต้องมีเอกสารเซ็นยินยอมจากเจ้าของสิ่งก่อสร้างนั้น

เป็น 10 หัวข้อเบื้องต้นที่ช่างภาพจะต้องพิจาณาก่อนส่งภาพขายหรือก่อนถ่ายภาพใหม่ทุก ครั้ง ถ้าไม่ติดในประเด็นเหล่านี้ ภาพที่ท่านส่งขายก็มีโอกาสผ่านการพิจารณาได้ง่ายขึ้นครับ ลองมาดูรายละเอียดของแต่ละหัวข้อกันว่ามีความหมายว่าอย่างไร

4.1) ต้องไม่ใช้ภาพแนว Snapshot - ดังที่ได้กล่าวไปแล้วน่ะครับ ภาพแนวนี้ไม่ใช่ว่าจะส่งไปขายไม่ได้น่ะ แต่ถ้าส่งไปก็มีแนวโน้มจะไม่ผ่านการพิจารณาจากทีมงานตรวจภาพครับ ซึ่งก็มีโอกาสที่จะผ่านก็ได้ใครจะไปรู้ :) ผมขอยกตัวอย่างภาพที่ผมส่งไปแล้วผ่านและไม่ผ่านให้ดูละกันครับ








ตัวอย่างรูปแนวสแนปช็อต ผมส่งขายที่ Shutterstock

จากรูปตัวอย่างเป็นรูปที่ผมถ่ายแนว Snapshot และพอลองส่งไปขายก็มีทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านการพิจารณา (แต่ส่วนใหญ่ไม่ผ่าน) ผมว่าทีมงานตรวจภาพของไมโครสต็อกหรือเรียกว่ากลุ่มนี้ว่า Inspector ก็มีหลายคนมันก็หลายมาตราฐานในการตรวจ แต่ส่วนใหญ่มาตราฐานสูงมาก แต่โดยรวมแล้ว ถึงแม้เป็นภาพแนวสแนปช็อต และผ่านเกณฑ์ข้อ 4.2 - 4.10 แล้ว เค้าจะดูว่าภาพมีความหมายมั้ย ถ้าดูแล้วภาพมันสื่อความหมายได้เค้าก็คงให้ผ่านได้ไม่ยากครับ

4.2) ต้องเป็นภาพที่คมชัด - ภาพที่ส่งขายได้ต้องคมชัดตรงส่วนที่ต้องชัด เช่น เราถ่ายภาพคนแนว portrait ซึ่งต้องชัดตรงใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณดวงตา แต่เมื่อซูมหรือขยายเข้าไปดู 100% ของภาพแล้วปรากฏว่าดันไปชัดตรงไหล่นางแบบ แต่ส่วนใบหน้านั้นแอบเบลอนิดๆ ตัวอย่างนี้ถ้าส่งไปก็ไม่ผ่านแน่นอน ดังนั้นก็ต้องตรวจภาพแบบซูมดู 100% ทุกครั้งให้มั่นใจว่าชัดแน่นอน

ในบางครั้งถ้าเราดูภาพแบบไม่ได้ซูมเข้าไปดู 100% ก็ดูว่าชัดอยู่น่ะ แต่นั่นแหละมันดูไกลๆ ก็ว่าชัดแต่พอขยับเข้าไปใกล้ๆ มันดันเบลอซ่ะงั้น เทคนิคส่วนตัวผมแล้วเวลาถ่ายรูปผมขาดไม่ได้ที่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง ถัดมาก็ปรับใช้ Auto fucus แน่นอน เพราะถ้าปรับ Manual focus โอกาสเบลอสูง แล้วก็จะมาดูตรงความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) ผมจะเผื่อไว้ให้เร็วซักหน่อย และก็การเปิดรูรับแสง (Aperture) ก็จะไม่ใช้รูกว้างเกินไปในบางกรณี เพราะยิ่งเปิดกว้างมาก (ค่า f น้อยๆ) ยิ่งทำให้ความเบลอเข้ามากวนได้ง่ายครับ สำหรับเทคนิคลึกๆ ผมจะเขียนบล็อกอธิบายในภายหลังครับ








ตัวอย่างรูปถ่ายที่ไม่ชัด









ตัวอย่างรูปถ่ายที่คมชัด

จากรูปตัวอย่าง ถ้าดูรูปแบบไม่ซูมแล้วต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงก็น่าจะชัดดี แต่เมื่อซูมเข้าไปดูมันเบลอซ่ะงั้น ส่วนรูปแมวก็เป็นตัวอย่างภาพที่ขยาย 100% ขึ้นมาแล้วก็ยังคมชัด อย่างงี้ก็ส่งขายได้เลยพี่น้อง ^^

เนื่องด้วยเนื้อหา "การเตรียมตัวสำหรับส่งรูปขายออนไลน์" ค่อนข้างยาวมาก ผมขอแบ่งเป็นสองตอนละกันครับ แล้วเจอกันตอนถัดไปครับ ^^

เคดิต : foto76-stock-photos.blogspot.com