Adobe Light Room โปรแกรมตกแต่งภาพเบื้องต้นงานขายภาพออนไลน์










โปรแกรม Adobe Lightroom สำหรับมือใหม่งาน ขายภาพถ่ายออนไลน์


การใช้งานโปรแกรม ขายภาพออนไลน์ : Adobe light room เบื้องต้น


สำหรับเพื่อนๆ  ที่สมัครขายภาพออนไลน์ แล้ว เพื่อนๆ ได้ส่งภาพไปทดสอบบ้างหรือยังครับ ถ้ายังล่ะก็ ขอให้ลองส่งดูครับ ว่าผลออกมาเป็นยังไง จะได้เอามาปรับปรุงแก้ไขกันต่อไปครับ

ในวันนี้ ผมอยากจะนำเสนอโปรแกรมเบื้องต้น ที่ผมอยากจะขอแนะนำโปรแกรมที่ผมใช้ในการแต่งภาพครับ  เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย ๆๆๆๆๆ มาก    มันคือ Adobe Lightroom ครับ  ลองโหลดมาใช้งานดูครับ ใครไม่มี หาไม่ได้ เมลมาขอผมได้ครับ











หน้าจอส่วนของ Develop ใน Adobe lightroom จะช่วยการตกแต่งภาพ ในงาน ขายภาพออนไลน์ เป็นงานที่ง่ายขี้นอีกเยอะ

โปรแกรมนี้ใช้สำหรับการตกแต่งภาพ จากการถ่ายภาพที่ใช้ไฟล์ RAW ครับ เพื่อนที่มีกล้อง D-SLR อยู่แล้ว ก็ตั้งค่ากล้องของของเพื่อนๆ เป็นการ ถ่าย แบบ ไฟล์ RAW ซะครับ ข้อดีของไฟล์ RAW คือ จะมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งภาพได้มาก ๆ ๆ แบบที่ JPG ทำไม่ได้ครับ เช่น ถ่ายมาค่าแสงผิดพลาด มืดไป เราก็สามารถนำไฟล์ RAW มาปรักแก้ได้ โดยดึงค่า EV ได้ถึง +- 2 Stop โดยไม่ทำให้ภาพเกิดความเสียหาย หรือ ถ่ายมาแล้วตั้งค่า White balance เพี้ยน ก็นำมาแก้ใหม่ได้ โดยที่ภาพที่ได้ เหมือนกันถ่ายใหม่เลย

เหตุที่เป็นแบบนั้น ก็คือ  ภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิตอล D-SLR นั้น หลังจากการกดชัตเตอร์แล้วจะทำการบันทึกภาพ โดยรายละเอียดภาพทั้งหมดนั้น จะถูกเก็บไว้ใน ไฟล์ RAW ครับ เป็นไฟล์ภาพที่ยังไม่ได้มีการ Process  รายละเอียดไว้วันหลัง....เอ๊ย วันหน้าผมจะค่อยอธิบายให้ฟังอีกทีนะครับ   วันนี้เรามาพูดถึงวิธีการใช้ Adobe Lightroom กันก่อนดีกว่าครับ


<< การใช้งาน Shortcut เบื้องต้น >>

F               -    เปลี่ยนมุมมองหน้าจอ
L               -    ทำให้จอมืดลง เพื่อให้ภาพเด่นขึ้น
Tab        -    ซ่อน / แสดง อุปกรณ์เครื่องมือด้านข้าง (ไม่มีผลกับอัลบั้มภาพ)
Shift + Tab    -    ซ่อน / แสดง อุปกรณ์เครื่องมือทั้งหมด
Num 1-5        -    ให้ rating เป็นคะแนนกับภาพนั้น ตั้งแต่ 1 – 5 ดาว
R        -    ครอบภาพ
C        -    เรียกภาพปัจจุบันที่เลือกอยู่กับภาพที่เลือกก่อนหน้านี้ ขึ้นมาเปรียบเทียบกัน
T        -    ซ่อนและแสดง Tool Bar

<< โหมด Libary สำหรับจัดการอัลบั้มภาพ >>
Navigator ใช้สำหรับย่อ / ขยาย ภาพ
Quick Develop
Preset         -    ใช้เรียกค่าการแต่งภาพในโหมด Develop ที่เราบันทึกขึ้นมาใช้กับภาพนั้น

Crop Ratio    -    ครอบภาพ โดยใช้อัตราส่วนตามที่กำหนด (หากโปรแกรมครอบให้ไม่พอใจ

สามารถกด R เพื่อครอบภาพเองได้)

Treatment    -    เลือกว่าต้องการแสดงเป็นภาพสี หรือขาว-ดำ

WB        -    ปรับค่า White Balance ของภาพนั้น โดยมี Preset ให้เลือกอยู่แล้ว หรือจะปรับค่า

เองอย่างละเอียด ที่ Temp และ Tint ก็ได้

Exposure    -    เพิ่มการชดเชยแสงของภาพ

Recovery    -    ทำให้ส่วนที่เป็น Highlight มืดลง เพื่อกู้รายละเอียดส่วนที่เกิน Highlight กลับมา

Fill Light        -    ตรงข้ามกับ Recovery ใช้เพิ่มความสว่างให้กับส่วนที่มืด เพื่อดึงรายละเอียดส่วนที่

มืดกลับคืนมา

Black        -    ใส่สีในส่วนสีโทนมืดของภาพ ให้มืดมากขึ้น

Brightness    -    เพิ่มความสว่างของภาพ

Contrast        -    เพิ่มความเปรียบต่างของภาพ (ภาพส่วนดำจะดำมากขึ้น ส่วนขาวจะขาวมากขึ้น)

Vibrance    -    เพิ่มความสดของสี (คล้าย Saturation)

Auto Tone     -    ให้โปรแกรมปรับ Option ในส่วน Quick Develop ให้โดยอัตโนมัติ

Reset        -    คืนค่าเริ่มต้นของภาพนั้น




<< โหมด Develop สำหรับการตกแต่งภาพ >>


Histogram


บอก Channel สีรวมถึงขาว-ดำ ว่ามีปริมาณมากน้อย เพียงใดในภาพนั้นๆ ไล่จากด้านซ้าย (ส่วนที่มืดที่สุดไป) จนถึงด้านขวา (ส่วนที่สว่างที่สุด) ใน Histogram แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน หลักๆ ได้แก่



  1. Blacks

  2. Fill Lights

  3. Exposure

  4. Highlight

เมื่อ เอาเมาส์ไปวางไว้เหนือลูกศรรูปสามเหลี่ยมชี้ขึ้นด้านซ้ายสุด จะบอกถึง พื้นที่ส่วนที่ภาพนั้นไม่มีรายละเอียดเนื่องจาก พื้นที่ในส่วนนั้น มืดเกินกว่าที่กล้องจะเก็บรายละเอียดมาได้ ( ในทางกลับกัน ลูกศรด้านขวาจะบอกถึงพื้นที่ที่ไม่มีรายละเอียด เนื่องจาก พื้นที่นั้นสว่างเกินกว่าที่กล้องจะเก็บรายละเอียดได้ ) นอกจากนี้ เรายังสามารถปรับค่า Exposure, Recovery, Fill light และ Blacks ได้โดย Drag เมาส์ที่ Histogram ได้เลย



Basic


Treatment  เปลี่ยนภาพเป็นสี หรือ ขาว-ดำ



WB ปรับ White Balance สามารถเลือกปรับได้ 3 แบบ



  1. เลือกจากPreset ที่กำหนด


  2. เลือก จากตัวอย่างสีเทากลางในภาพ โดยคลิกที่หลอดดูดสี แล้วเลือกตัวอย่างสีจากในภาพ ตัวอย่างสีที่เลือก ตามทฤษฎี จะต้องเป็นสีเทากลาง 18 % แต่เราพออนุโลมเลือกสีขาว หรือสีเทาในภาพได้


  3. ปรับค่าเองจาก สไลเดอร์ Temp และ Tint

Tone

ปรับแสงในภาพ โดยสามารถให้โปรแกรมปรับให้เอง (กด Auto) หรือเลือกปรับเองก็ได้

Exposure     -    เป็นการจำลองการปรับค่ารูรับแสงให้แคบลง (-) หรือกว้าง (+) ขึ้น มีผลทำให้ภาพ

นั้น สว่างหรือดำยิ่งขึ้น คล้ายการปรับ F-stop ที่หน้ากล้อง (ไม่มีผลกับระยะชัด)

Recovery    -    เป็นการทำให้ภาพส่วนที่เป็น Highlight มืดลง เพื่อดึงรายละเอียดในพื้นที่ส่วนที่

เกินกว่า Highlight กลับคืนมา (ฟังก์ชั่นนี้จะไม่มีผลกับพื้นที่ส่วน Blacks แต่มีผล

เล็กน้อยกับ พื้นที่ส่วน Fill Light และ Exposure )

Fill Light        -    เป็นการเพิ่มความสว่างให้กับภาพในส่วนพื้นที่ black ( คล้ายฟังก์ชั่น D- Light ใน

Capture NX ) มีประโยชน์ในกรณีที่ต้องการให้ภาพทั้งภาพมีโทนแสงเท่ากัน

เช่น แก้การถ่ายภาพย้อนแสง เป็นต้น

Blacks        -    คล้ายกับ Highlight แต่จะเป็นการดึงรายละเอียดในพื้นที่ส่วนที่มืดกว่า Blacks

กลับคืนมา

Brightness    -    เป็นการเพิ่มความสว่าง โดยใช้หลักรีดสีให้สว่างขึ้น โดยจะรีดสีไม่เกินกว่าขอบเขต

Black และ Highlight ของภาพ มีผลหลักๆ กับพื้นที่ส่วนที่เป็น Fill Lights และ

Exposure ของภาพ ในกรณีที่ปรับค่า Brightness เพิ่มขึ้น ภาพจะสว่างขึ้น แต่

จะออกลักษณะฝ้าๆ เนื่องจากโทนสีในส่วนที่ควรจะเป็นโทนสีดำกลับเป็นสี

เทาแทน

Contrast        -    ปรับความเปรียบต่างของภาพ มักใช้คู่กับ Brightness เพื่อทำให้ภาพส่วนที่เป็นสี

เทา กลับเป็นสีดำ หากปรับเพิ่มขึ้น สีโทนขาวที่อยู่ทางขวาของเส้นกลาง Histogram จะถูกปรับให้สว่างมากขึ้น และสีโทนดำที่อยู่ทางซ้ายจะถูกปรับให้ดำมากขึ้น ในทางกลับกัน หากปรับ Contrast ลดลง โทนสีทั้ง 2 ด้าน จะปรับลู่เข้าหาเส้นกลาง ส่งผลให้ภาพดูลักษณะเทาๆ ไม่มีความเปรียบต่างของสี



Colors


โหมดในการควบคุมสี มี 2 ส่วน ได้แก่

Vibrance    -    เพิ่ม contrast ของสีทั้ง3สี RGB (กรณีภาพอยู่ในโหมด RGB) ให้เข้มขึ้นหรือจืดลง

Saturation    -    ใช้เร่งสีแต่ละสี (RGB) ให้แต่ละสีขับออกมาได้เด่นขึ้น (กรณีที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่ละสี

ในภาพจะสามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน)



Tone Curve



แกน X แสดงความสว่างของภาพ ไล่จากด้านซ้ายไปด้านขวา คือจากมืดไปสว่าง แกน Y แสดงปริมาณของแสงในแต่ละค่าแกน X ว่ามีมากน้อยเพียงไรในภาพ

พื้นที่ของ Curve จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยแบ่งจาก ตาราง 4x4 ใน Curve ได้แก่



  1. Highlights    สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 4 ของแกน x


  2. Lights    สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 3 ของแกน x


  3. Dark    สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 2 ของแกน x


  4. Shadows    สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 1 ของแกน x

เราสามารถปรับขอบเขตของการปรับ Curve ขึ้นลง ได้โดยเลื่อนสไลเดอร์รูปหยดน้ำ 3 หยด ด้านล่าง Curve

ในเบื้องต้นของการปรับ Curve แนะนำให้ใช้ Slider ด้านล่าง แทนที่จะปรับที่ตัว Curve โดยตรง ซึ่งหลักโดยทั่วไป คือ



  1. เพิ่ม Lights เพื่อทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพสว่างขึ้น


  2. ลด Highlights เพื่อให้พื้นที่ขาวสุดของภาพ มีรายละเอียดขึ้นเล็กน้อย


  3. เพิ่ม Shadows เพื่อให้พื้นที่ดำสุดของภาพ มีรายละเอียดขึ้นเล็กน้อย


  4. ลด Dark เล็กน้อย เพื่อคงรายละเอียดส่วนดำของภาพไว้ ไม่ให้ขาวตาม Lights ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ภาพมีความเปรียบต่างของสี

เรายังสามารถปรับค่าความโค้งของ Curve เพื่อให้เกิด Contrast มากขึ้นหรือน้อยลงได้ที่ Point Curve ได้แก่

1. Linear

2. Medium Contrast

3. Strong Contrast

* ในแต่ละภาพ สามารถปรับแก้ได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาพต้นฉบับและวัตถุประสงค์ของการนำเสนอภาพไม่จำเป็นต้องทำตาม 4 ขั้นตอนข้างต้นเสมอไป ใช้หลักให้สายตามองเห็นว่าสวยก็พอ



HSL / Color / Grayscale



HSL (Hue, Saturation and Luminance)

Hue        เปลี่ยน Channel สีของภาพ มีให้เลือกเปลี่ยน 8 สี มีจุดประสงค์เพื่อให้สีนั้นๆ ของภาพ

เปลี่ยนไป เช่น ต้องการเปลี่ยนหญ้าที่ถ่ายมาเหลือง ให้เขียวขึ้น ก็เลือกไปที่ Yellow แล้วปรับค่าไปทางขวาให้เขียวขึ้น

Saturation    ใช้ เร่งสีในแต่ละ Channal สี มีให้เลือก 8 สี เช่น ต้องการให้ท้องฟ้าที่ถ่ายมาดูสีสดขึ้น ก็เลือกไปที่ Blue แล้วปรับสไลเดอร์ไปทางขวามือ

Luminance    ปรับ ความสว่างของสี สามารถเลือกปรับได้ 8 สี เช่น ต้องการปรับให้ผิวนางแบบดูขาวขึ้น ก็เลือกไปที่ Orange แล้วปรับสไลเดอร์ไปทางขวามือ

Color

เหมือนกับ HSL ทุกอย่าง เพียงแต่เปลี่ยนหน้าตาการใช้งานฟังก์ชั่นให้แตกต่างกันเพื่อความสะดวก

Grayscale


ใช้สำหรับ Convert ภาพจากสีเป็นขาว-ดำ โดยสามารถเข้าไปปรับในแต่ละโทนสีได้



Split Toning



เครื่อง มือช่วยปรับสีส่วนที่เป็น Highlight และ Shadow ของภาพ ซึ่งแทนที่ภาพในส่วนนั้นจะแสดงออกมาเป็นสีขาว ( Highlight ) หรือ ดำ (Shadow) เครื่องมือตัวนี้จะช่วยใส่สีสันเข้าไปในส่วนที่ไม่มีรายละเอียดของภาพ (Highlight และ Shadow) โดยเลือกที่ Hue เพื่อเลือกสีที่จะใส่เข้าไป และเลือก Saturation เพื่อปรับความเข้มของสีที่ใส่เข้าไป ( หากใส่มากเกินไป จะมีผลกระทบกับรายละเอียดหลักของภาพ

เรา สามารถเลือกปรับว่าจะให้ Highlight และ Shadow ที่ปรับมีผลกับภาพมากน้อยเพียงใดได้ที่ สไลเดอร์ Balance โดยที่ -100 มีผลกับ Shadows อย่างมาก และ + 100 มีผลกับ Highlight อย่างมาก



Detail



Sharpening    -    ใช้เพิ่มความคมชัดของภาพ

Noise Reduction    -    ใช้ลด Noise ที่เกิดขึ้นในภาพ โดยมี 2 แบบ คือ Luminance และ Color



  1. Luminance คือ Noise ที่เกิดจาก grain ของภาพ มีลักษณะเป็นจุดๆ มักจะเกิดกับภาพที่ขยายเกินกว่าต้นฉบับที่ถ่ายมา หรือภาพที่ถ่ายโดยใช้ ISO สูง การลด Noise ตรงนี้จะทำให้ความคมชัดของภาพหายไป


  2. Color คือ Noise ที่มีลักษณะเป็นจุดสีเด่นขึ้นในภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดงและน้ำเงิน มักเกิดเวลาปรับภาพให้คมขึ้นมากๆ การลด Noise ตรงนี้ บางครั้งจะทำหี้ของภาพเพี้ยนไป


เป็นยังไงบ้างครับ อ่านแล้ว งง มะ  ไม่ต้องงงนะครับ ลองไปเรื่อยๆ ผมเองก็ลองตั้งนานกว่าจะได้ ก็เง็ง เหมือนกัน แต่รับรองครับ ว่าถ้าใช้ Adobe Light Room ตัวนี้ เป็นแล้ว เพื่อนๆ จะชอบมัน เหมือนกับผม ....ขอให้สนุกกับการหาเงินในการขายภาพออนไลน์ นะครับ


เครดิต: sellingphotoonline.blogspot.com